วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย

1. ทรัพยากรดิน
     ดินเกิดจากการผุพังของหินที่อยู่บนผิวโลก ด้วยการกระทำของอากาศ น้ำ ต้นไม้ สัตว์ ตลอดจนมนุษย์ ดินเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะไม่อยู่กับที่ โดยเฉพาะดินในบริเวณลาดเขาหรือที่สูง จะถูกพัดพาไปสู่ที่ต่ำ เช่น พาไปไว้ตามหุบเขา หรือตามปากแม่น้ำ เป็นต้น


        ดินในประเทศไทยส่วนมากเป็นดินที่ถูกพัดพามาจากที่สูง เช่น จากเทือกเขาผีปันน้ำ เป็นต้น ดินพวกนี้เรียกว่า ดินตะกอน ดังนั้นตามหุบเขาทางภาคเหนือ เช่นลุ่มแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ตามเชิงเขาแถบลุ่มน้ำยม จะมีดินตะกอนตกตามปากลำธาร ทำให้เกิดดินรูปสามเหลี่ยมคล้ายพัด ถ้าเป็นที่ราบปากแม่น้ำ เช้นแม่น้ำเจ้าพระยา จะเรียกว่า ดินดอนสามเหลี่ยม เป็นต้น
กลุ่มดินในประเทศไทย ประเทศไทยแบ่งชนิดดินออกเป็น 3 ชนิด
        1) ดินในที่ลุ่ม หมายถึง พื้นที่ซึ่งมีระดับราบและมีการระบายน้ำไม่ดี เช่น ที่ราบดินตะกอน พบมากในเขตที่ราบภาคกลาง รวมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่ราบชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการปลูกข้าวและปลูกพืชโดยการยกร่องงภาคใต้ฝั่งตะวันออก เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการปลูกข้าวและปลูกพืชโดยการยกร่อง
                                                         การทำการเกษตรทางภาคพื้นดิน

           2) ดินที่อยู่ตามที่ราบแบนและที่เนินเขา คือ ดิน ที่อยู่ตามปากแม่น้ำลำธารเก่าๆ บริเวณชานภูเขา ตามข้างภูเขา และตามเชิงเขา พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่ราบชายฝั่งภาคใต้ เป็นดินที่มีธาตุอาหารประเภทด่างน้อย เหมาะสำหรับเพาะปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด เป็นต้น

          3) ดินในบริเวณภูเขา เป็นดินที่อยู่ตามภูเขาภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือถ้าพื้นที่ไม้สูงชันมาก ชาวไร่หรือชาวเขาเผ่าต่างๆ จะถางเพื่อทำไร่ ปลูกข้าว ข้าวโพดและผักต่างๆ นอกนั้นปล่อยทิ้งไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ เพื่อรักษาต้นน้ำและผลผลิตไม้ทางเศรษฐกิจ

 2. ทรัพยากรน้ำ
     แหล่งน้ำ แหล่งหรือที่มาของน้ำมี 3 แหล่ง ดังนี้
     1) หยาดน้ำฟ้า (Precipitation) ได้แก่ น้ำค้าง หิมะ ลูกเห็บ หมอก ที่กลั่นตัวหรือละลายกลายเป็นหยดน้ำ และน้ำจากน้ำฝน ประเทศไทยอยู่ในเขตมรสุม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดจากมหาสมุทรเข้าสู่แผ่นดินระหว่างปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนตุลาคม (ฤดูฝน) ทำให้มีฝนตกกระจายทั่วไป ปริมาณฝนของประเทศไทยโดยรวมมีค่าประมาณ 1,600 มิลลิเมตรต่อปี โดยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก มีปริมาณฝนน้อยฝนช่วงฤดูหนาวและมีฝนมากในช่วงฤดูฝน ขณะที่คาบสมุทรภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีปริมาณฝนมากในช่วงฤดูหนาว ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนมากในช่วงฤดูฝน
       2) น้ำบนผิวดิน หรือน้ำผิวพื้น หรือท่าน้ำ (Surface water) คือ น้ำที่ไหลหรือมีอยู่ตามพื้นผิวดิน เช่น แม่น้ำ ลำคลองตามธรรมชาติ รวมถึงน้ำที่อาจจะขังอยู่ตามห้วย หนอง คลอง บึง ทะเล และลุ่มน้ำ หรือทะเลสาบที่มนุษย์สร้างขึ้นในประเทศไทยมีแหล่งน้ำผิวดินประเภทห้วยใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น บึง-บอระเพ็ด หนองหาน กว๊านพะเยา นอกจากนั้นยังมีแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ อ่างเก็บน้ำ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ รวมถึงเก็บไว้ใช้ในหน้าแล้ง เป็นต้น
        3) น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล (Ground water)    น้ำใต้ดิน ได้แก่ น้ำฝน น้ำที่ละลายจากหิมะและก้อนน้ำแข็ง หรือน้ำบนดิน  เช่น น้ำในลำธาร แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ ที่ซึมลงไปในดินและช่องว่างระหว่างหิน

น้ำในดิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
น้ำในดิน หมายถึง น้ำที่ซึมซับอยู่ในดินเนื่องจากดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัว
น้ำในชั้นดินหรือน้ำบาดาล หมายถึง น้ำใต้ดินที่ซึมลึกลงไปในพื้นดินไปรวมอยู่ ในชั้นของหิน

3. ทรัพยากรแร่
         แร่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป มีความสำคัญและมีบทบาทต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของมนุษย์เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคำ ตะกั่ว สังกะสี เป็นต้น
 แร่ บางออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
         1) แร่โลหะ คือแร่ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น หลังจากผ่านกระบวนการแปรรูปแล้วจะมีน้ำหนักมาก ขัดแล้วเป็นเงา สามารถตีแผ่นหรือรีดออกเป็นเส้นได้ และหลอมละลายเมื่อถูกความร้อนสูง เป็นต้นแร่โลหะที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุก เหล็ก แมงกานีส ทังสเตนและวุลแฟรม ตะกั่วและสังกะสี ทองคำ เงิน และทองแดง
        2) แร่อโลหะ คือ แร่ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพตรงกันข้ามกับแร่โลหะ และสามารถนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องนำมาถลุงหรือแยกแร่ก่อน จำแนกออกเป็น
           แร่โลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง ได้แก่ หิน กรวด ทราย ปูนขาว ปูนซีเมนต์ ยิปซัมและใยหิน เป็นกลุ่มแร่ที่สามารถผลิตได้ทั่วไป
           แร่อโลหะเคมี ได้แก่ กำมะถัน เกลือ แคลไซต์ เป็นแร่ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมีต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลง  บาปราบศัตรูพืช การผลิตยารักษาโรคต่างๆ เป็นต้น
           แร่อโลหะทำปุ๋ย ได้แก่ ไนเตรต
           แร่อโลหะเครื่องปั้นดินเผา ได้แก่ แร่ดินเหนียว ประกอบด้วยเกาลิไนต์ อิลไลต์และมอนต์ –มอริลโลไนต์ เป็นแร่ที่นำมาใช้ผลิตเครื่องปั้นดินเผา เครื่องสุขภัณฑ์ และส่วนประกอบในการก่อสร้าง
           แร่อโลหะใช้ขัดถู ได้แก่ หิน ทราย ทับทิม และเพชร เป็นแร่ที่นำมาใช้ตัด ขัดถูและตกแต่งเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
           แร่อโลหะที่ป้องกันความร้อน ได้แก่ ยิปซัม ใยหิน แมกนีเซียม และไมกา เป็นแร่ที่นำมาใช้เป็นฉนวน เพื่อป้องกันความร้อนในเครื่องใช้ ในอาคารบ้านเรือน และเสื้อผ้าที่ใช้ผจญเพลิง
           แร่อโลหะทำสี ได้แก่ แร่ดินเหนียว ดินเหลือง ไดอะโทไมต์ และแบไรต์ เป็นแร่ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสี
          3) แร่เชื้อเพลิง เป็นแร่ที่นำมาใช้ผลิตพลังงานทั้งความร้อนและแสงสว่าง มีความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมมากที่สำคัญได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน
ปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ

4. ทรัพยากรป่าไม้
               ป่าไม้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธาร โดยป่าไม้ในแต่ละบริเวณจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิอากาศภูมิประเทศ น้ำ และดิน
 ป่าไม้ในประเทศไทย จำแนกเป็น ประเภท คือ
                        1) ป่าไม้ไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) เป็นป่าไม้ที่ต้นไม้มีใบเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี
ป่าดิบหรือป่าดิบชื้น พบบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง มีปริมาณน้ำฝนสูงกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี สูงกว่าระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป เป็นป่าไม้ที่พบในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่พบมากในภาคใต้และภาคตะวันออก
ป่าดิบเขา พบบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนประมาณ 1,500 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป เป็นป่าไม้ที่พบมากทางภาคเหนือ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น
ป่าสนเขาหรือป่าสน พบบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนประมาณ 1,000 – 1,500 มิลลิเมตรต่อปี สูงกว่าระดับน้ำทะเล600 – 1,200 เมตร เป็นป่าไม้ที่พบบริเวณเขาสูง เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น
ป่าโกงกาง พบบริเวณชายฝั่งทะเล เช่น จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และพลเป็นแห่งๆ ทางชายฝั่งทะเลตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงนราธิวาส เป็นต้น
                         2) ป่าไม้ผลัดใบ (Deciduous Forest) เป็นป่าไม้ที่ต้นไม้มีการทิ้งใบในช่วงหน้าแล้ง และจะผลิใบเมื่อถึงฤดูฝน
ป่าแพะ ป่าแดง ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง เป็นป่าไม้ที่พบในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากถึง
ร้อยละ 70 – 80 ของพื้นที่ป่าไม้
                         3) ป่าผลัดใบผสมหรือป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)เป็นป่าต้นไม้มีการผลัดใบหรือทิ้งใบทั้งหมดไปพร้อมกันในคราวเดียวกันทั้งผืนป่า พบมากในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก

5. ทรัพยากรสัตว์ป่า
                   สัตว์ป่า  หมายถึง  สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยป่าเป็นถิ่นกำเนิดและถิ่นอาศัย  ได้แก่  สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ   สัตว์เลื้อยคลาน  นก    และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
                   พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  พ.ศ.   2503   ได้ให้คำนิยามว่า   สัตว์ป่า  หมายถึง  สัตว์ทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในป่า   
      
 ยกเว้นสัตว์จำพวกแมลงหรือสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
สัตว์ป่าในประเทศไทย   จำแนกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า   พ.ศ.  2503  แบ่งออกเป็น   3  กลุ่ม
                        1)  สัตว์ป่าสงวน   หมายถึง  สัตว์ป่าหายาก  มี  15   ชนิด  ได้แก่  แรด    กระซู่  กูปรีหรือโคไพร   ควายป่า  ละองหรือละมั่ง  เลียงผา  กวางผา นกเจ้าฟ้าสิรินธร  นกแต้วแร้วท้องดำ   นกกระเรียง  แมวลายหินอ่อน  สมเสร็จ  เก้งหม้อ  และพะยูนหรือหมูน้ำ   เป็นสัตว์ที่ห้ามล่าโดยเด็ดขาด
2)  สัตว์ป่าคุ้มครอง   แบ่งออกเป็น  2  ประเภท
                               สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่   1   หมายถึง   สัตว์ป่าที่ปกติคนจะไม่ใช้เนื้อเป็นอาหารหรือไม่ล่าเพื่อการกีฬาเป็นสัตว์ป่าที่ทำลายศัตรูพืช  หรือขจัดสิ่งปฏิกูล  หรือสงวนไว้เพื่อประดับความงามตามธรรมชาติ  หรือไม่ให้จำนวนลดลง มีทั้งสิ้น  166  ชนิด  เช่น  ช้าง  ชะมด  กระรอก  ลิง  เสือปลา หมาไม้  เป็นต้น  และนกชนิดต่างๆอีก  130  ชนิด  เช่น  นกกวัก นกเงือก  นกเขาไฟ   เป็นต้น

                              สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่  2   หมายถึง   สัตว์ป่าที่คนนิยมใช้เนื้อมาปรุงอาหารหรือล่าเพื่อการกีฬา  มีทั้งสิน  29  ชนิด เช่น  กระทิง  กวาง  กระจง  เสือโคร่ง  หมีควาย  เป็นต้น  และนกอื่นๆอีก  19  ชนิด  เช่น  นกกระสา  นกแขวกนกอีโก้ง  ไก่ป่า   เป็นต้น
                       3)  สัตว์ป่าที่ไม่สงวนและคุ้มครอง   หมายถึง   สัตว์ป่าที่สามารถทำการล่าได้ตลอดเวลาแต่ต้องไม่ล่าในเขตหวงห้าม  เช่น  อุทยานแห่งชาติ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  และเขตห้ามล่าสัตว์  เป็นต้น  สัตว์ป่าที่ไม่สงวนและคุ้มครอง  เช่น  หนู  ค้างคาว   ตะกวด  แย้   งูเห่า  นกกระจาบหมูป่า   เป็นต้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น